Last updated: 2018-06-21 |
การเพาะเห็ดฟางในประเทศไทยเริ่มครั้งแรกในปี 2480 จนถึงปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคนิคการเพาะเห็ดขึ้นหลายรุปแบบ เช่นแบบโรงเรือน แบบกองเตี้ย แบบหลุม วัสดุเพาะก็ได้มีการทดลองนำวัสดุเหลือใช้ต่างๆมากมาย ผักตบชวา ขี้เลื่อย ก้อนเชื้อเก่า และอื่นๆ อีกมากมาย ตอนนี้เรามาฟังวิธีการเพาะเห็ดฟางในตะกร้ากันดีกว่า
เทคนิคการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า
นั่นคือ เทคนิคการเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติก การเพาะเห็ดฟางในตะกร้านี้เป็นวิธีการเพาะเห็ดฟางที่ประยุกต์ขึ้นมา แต่เดิมนั้นการเพาะเห็ดฟางแบบทั่วไปใช้พื้นที่ใน แนวราบ มาตรฐานของการเพาะเห็ดฟางในพื้นที่ราบ 1 ตารางเมตร ได้ผลผลิตได้ถึง 3 กิโลกรัม ถือว่ายอดเยี่ยมการเพาะเห็ดฟางแบบใน ตะกร้าจะใช้พื้นที่ในแนวสูงกับแนวราบของพื้นที่ตะกร้าที่เป็นทรงกระบอก
โดยสามารถใช้ตะกร้าซักผ้า ตะกร้าใส่ผลไม้ ตะกร้าใส่ปลา ของชาวประมง คือไม่สูงมากประมาณ 1 ฟุต รอบ ๆ ตะกร้าจะมีตามีช่องด้านบนเห็ดก็สามารถออกได้ และสามารถนำตะกร้าซ้อนกันได้หลายชั้น เป็นลักษณะของการเพิ่มพื้นที่การออกดอกของดอกเห็ด ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีทำเหมาะกับทุกรูปแบบ
ข้อดีของการเพาะเห็ดฟางแบบตะกร้า
จากการทดลอง เก็บตัวเลขในกระบวนวิจัยบนพื้นที่ 1 ตารางเมตร สามารถวางได้ถึง 9 ตะกร้า โดยวางชั้นเดียวเมื่อ 1 ตารางเมตร วางได้ถึง 9 ตะกร้า จะได้เห็ดไม่ต่ำกว่า 1 กิโลกรัม ต่อ 1 ตะกร้า เพราะฉะนั้น 1 ตารางเมตร ได้อย่างน้อย 9 กิโลกรัม เปรียบเทียบ แบบกอง คือ 3 กิโลกรัม แบบตะกร้าได้มากกว่า แนวทางในการพัฒนาตรงนี้ค่อนข้างจะเป็นที่สนใจของนักวิชาการ และผู้สนใจที่จะเพาะเห็ดอยู่มาก !! เพราะเป็นการประหยัดพื้นที่ลงทุนน้อย
วัสดุที่ใช้ในการเพาะเห็ด
วัสดุที่เพาะเห็ดฟางนั่นมีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ฟางข้าว ถั่ว หรือเปลือกถั่วได้ทุกชนิด เปลือกมันสำปะหลัง ต้นข้าวโพดแห้ง (นำมาสับ และนำไปแช่น้ำก็สามารถนำมาเพาะได้เช่นกัน ) ผักตบชวา ต้นกล้วยหั่นตากแห้ง ทะลายปาล์ม หรือผลปาล์ม ขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อนทุกชนิด แม้แต่กระดาษก็สามารถนำมาเพาะเห็ดฟางได้ แต่ส่วนใหญ่จะนิยมนำกระสอบป่านเก่าๆ ผ่านการแช่น้ำมาแล้ว มาใช้เป็นวัสดุได้เช่นกัน เรียกได้ว่า อะไรที่มาจากธรรมชาติ และเก็บความชื้นได้ดี ก็สามารถนำมาเป็นวัสดุในการเพาะเห็ดฟางได้ทั้งสิ้น
ทั้งนี้ ในแต่ละพื้นที่ก็อาจจะมีวัสดุที่แตกต่างกันไป แต่ที่ได้รับความนิยมในภาคใต้ ก็จะเป็นพวก ขุยมะพร้าว โดยขุยมะพร้าว 2 ส่วน นำมาผสมกับขี้วัว 1 ส่วน ซึ่งข้อดีของการใช้ขุยมะพร้าวกับขี้วัว ก็คือ เราจะได้ความชื้นและมีอาหารจากขี้วัว มาช่วยบำรุงให้เห็ดนั้นเติบโตได้เร็วขึ้น
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา เกษตรกรมักจะนิยมใช้ฟางข้าว เพราะชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า เห็ดฟาง บรรพบุรุษของเราจะใช้ฟางข้าวในการเพาะเห็ด หรือ เห็ดจะขึ้นเองตามกองฟาง แต่ปัจจุบันที่เราไม่พบเห็นเห็ดตามกองฟาง เหมือนในอดีต เพราะ ฟางข้าวมีสารเคมีตกค้าง จากการที่เกษตรกรใช้สารพิษ ในการฆ่าแมลง และใช้ปุ๋ยเคมีในการบำรุงข้าว เป็นสาเหตุที่เราไม่แนะนำให้ใช้ฟางข้าว เพราะนอกจากเห็ดจะไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควรเพราะสารเคมีแล้ว สารพิษที่ตกค้างในฟางข้าวยังซึมผ่านเส้นใยของเห็ด เมื่อเราบริโภคเห็ดเข้าไปก็รับสารพิษเข้าไปด้วย
ขั้นตอนการเพาะเห็ดฟาง
1) นำวัสดุเพาะใส่ลงตะกร้าสูงจากตะกร้าประมาณ 2-3 นิ้ว กดด้วยไม้ให้พอแน่น ให้ชิดขอบตะกร้าให้มากที่สุด
2) นำอาหารเสริมผักตบชวา โรยบนขี้เลื่อยให้ชิดตะกร้า กว้าง 2-3 นิ้ว สูง 1 นิ้ว
3) นำเชื้อเห็ดฟางฉีกเป็นชิ้นขนาด 1-2 ซม. คลุกกับแป้งสาลี แบ่งเชื้อเป็น 3 ส่วนเท่าๆ กัน นำส่วนที่ 1 วางเป็นจุด ๆ ห่างกันประมาณ 5-10 ซม. ทำเช่นนี้จำนวน 3 ชั้น
4) ชั้นที่ 4 วางอาหารเสริมให้เต็มพื้นที่ของตะกร้า โรยเชื้อเห็ดให้เต็มพื้นที่เช่นกัน โรยขี้เลื่อยให้เต็มตะกร้า
5) นำน้ำประมาณ 2 ลิตร ลดลงด้านบนให้ชุ่ม วางตะกร้าในโรงเรือน หรือกระโจมที่เตรียมไว้
6) วางตะกร้าซ้อนกันได้ไม่เกิน 4 ใบ นำพลาสติกมาคลุมกระโจม หรือโครงไม้ไผ่จากบนลงล่าง คลุมให้มิด ด้านล่างควรใช้อิฐหรือไม้ทับเพื่อป้องกันพลาสติกเปิดออก
7) ช่วงวันที่ 1-4 วันแรก อุณหภูมิจะอยู่ในระดับ 37-40 องศาเซลเซียส
8) วันที่ 4 ให้เปิดพลาสติกคลุมออก เพื่อให้มีการถ่ายเทอากาศ หากวัสดุเพาะแห้งให้รดน้ำได้ แต่เพียงเล็กน้อย
9) วันที่ 5-8 ต้องควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ระหว่าง 28-32 องศาเซลเซียส
10) การเก็บเกี่ยววันที่ 8-9 เห็ดฟางเริ่มให้ดอกขนาดโตขึ้นจนสามารถเก็บได้ โดยใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้จับดอกแล้วหมุนเล็กน้อยยกขึ้น ไม่ควรใช้มีดตัดเพาะส่วนที่เหลือจะเน่าเสียลุกลามไปยังดอกอื่น เก็บเสร็จให้รีบปิดพลาสติกหรือโรงเรือนตามเดิม
Cr https://www.modernlessons.com
May 31, 2018
Jun 01, 2018
Jun 12, 2018